เรียบเรียงจากบทสัมภาษณ์ น.พ.พูนศักดิ์ สุชนวณิช
ลูกคือแก้วตาดวงใจ เป็นโซ่ทองคล้องใจพ่อแม่ให้เปี่ยมสุขยิ่งขึ้น แต่หลายบ้านกลับยังต้องเฝ้ารอเมื่อไหร่นะ โซ่ทองเส้นนี้จะมาผูกพันหัวใจพ่อแม่เสียที ทั้งๆ ที่แสนพยายาม แล้วจะมีวิธีใดล่ะที่ช่วยได้ ?
ภาวะการมีบุตรยากมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากปัจจุบันคนแต่งงานกันช้าลง มีภาระด้านการงานมากขึ้น รวมทั้งมีปัญหาด้านอื่นๆ อีกมากมาย แต่ทางการแพทย์ก็จะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้หลายวิธี และหนึ่งในวิธีดังกล่าวก็คือ “บลาสโตซิสท์ คัลเจอร์ เทคนิค” (Blastocyst Culture Technique) ว่ากันว่าเป็นวิธีที่ทันสมัย และมีเปอร์เซ็นได้ผลสูงค่ะ
บลาสโตซิสท์ คัลเจอร์ คืออะไร ?
บลาสโตซิสท์ คัลเจอร์ (Blastocyst Culture) หมายถึง กระบวนการเลี้ยงตัวอ่อนให้เจริญเติบโตภายนอกร่างกายจนถึงระยะบลาสโตซิสท์ ซึ่งเป็นระยะที่พร้อมจะฝังตัว จึงใส่คืนเข้าไปในโพรงมดลูก เป็นวิธีรักษาการมีบุตรยาก 1 ใน 6 วิธีที่มีอยู่ในโลก และทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน
การทำบลาสโตซิสท์ คัลเจอร์ ใช้วิธีการเลี้ยงตัวอ่อนภายนอกร่างกายเหมือนกับการทำเด็กหลอดแก้ว ซึ่งตามธรรมชาติแล้วเมื่อไข่กับอสุจิเกิดการปฏิสนธิกัน ก็จะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเซลล์ไปเรื่อยๆ ในระหว่างที่ทางเดินมาที่ท่อนำไข่ จนระยะเวลาผ่านไป 5 วัน เมื่อตัวอ่อนแบ่งเซลล์ถึงประมาณ 80 - 100 เซลล์ และเจริญเป็นตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสท์ พร้อมที่จะฝังตัวในมดลูกต่อไป
ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสท์ จะแบ่งเซลล์เป็น 2 ชั้น คือเซลล์ที่อยู่รอบนอกเรียกว่า เซลล์รกเด็ก หรือโทรเพคโตเดิร์ม (Tropectoderm) ซึ่งจะเจริญไปเป็นรกเด็กในครรภ์และกลุ่มเซลล์ที่อยู่ภายในเรียกว่า เซลล์เด็ก หรือ อินเนอร์เซลล์แมส (Inner Cell Mass) ซึ่งจะเจริญไปเป็นเด็กในครรภ์ เวลาใส่ตัวอ่อนเข้าโพรงมดลูกก็ใส่เพียง 1 - 2 ตัวเท่านั้น เพราะเป็นตัวอ่อนระยะสุดท้ายแล้ว
ตัวอ่อนที่สมบูรณ์ดีนั้นจะเริ่มเจาะออกมาจากเปลือกนอกและเริ่มฝังตัวลงบนโพรงมดลูกของแม่ เกิดเป้นรการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์ต่อไป
เด็กหลอดแก้วนั้นจะเลี้ยงตัวอ่อนเพียง 3 วัน ซึ่งตัวอ่อนจะเริ่มแบ่งตัวไปได้ประมาณ 4 - 8 เซลล์ จากนั้นก็จะนำตัวอ่อนทั้งหมดที่ได้ใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูก แล้วไปลุ้นกันต่อว่าจะโตได้ถึงระยะบลาสโตซิสท์หรือไม่?
ดังนั้นถ้าเราใส่ไป 6 - 7 ตัว จะติดแค่ 1 - 2 ตัว เนื่องจากยังเป็นเพียงตัวอ่อนระยะ 4 - 8 เซลล์เท่านั้น (กรณีที่เป็นข่าวแฝด 5 นั้น เกิดเพราะบังเอิญตัวอ่อนระยะ 3 วันที่ใส่ไปเจริญจนถึงบลาสโตซิสท์เกือบทั้งหมด ซึ่งมีโอกาสน้อยมาก)
แต่บลาสโตซิสท์ คัลเจอร์ จะเลี้ยงตัวอ่อนไว้ในห้องทดลอง 5 วัน ระหว่างนั้นจะต้องเปลี่ยนอาหารเลี้ยงตัวอ่อนซึ่งเป็นส่วนประกอบของสารอาหารโดยธรรมชาติ พร้อมทั้งถ่ายเทของเสียที่ตัวอ่อนผลิตออกทุกวัน ที่การเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของความเข้มข้นของอาหารเลี้ยงตัวอ่อน จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ตัวอ่อนเจริญเติบโตได้ดี
ตัวอ่อนที่ได้ จะมีการแบ่งเกรดตามจำนวนเซลล์ที่ได้และความเท่าเทียมกันของขนาดเซลล์ ทั้งเซลล์ตัวอ่อนและเซลล์รกเด็ก ดังนั้นเนื่องจากบลาสโตซิสท์เป็นตัวอ่อนระยะที่พร้อมจะฝังตัวเกิดเป็นทารกที่สมบูรณ์ได้แล่ว หากต้องการลูกคนเดียวก็มักจะใส่ตัวอ่อนเพียง 1 - 2 ตัวเท่านั้น ทำให้อาจมีตัวอ่อนเหลือสำหรับการแช่แข็งเก็บไว่ใช้ในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไปได้อีกด้วย
ปัจจัยที่ทำให้ตัวอ่อนมีหลายเกรด คือคุณภาพแล็ปและความเชี่ยวชาญของบุคลากรที่เลี้ยงตัวอ่อน คุณภาพของเซลล์ไข่ คุณภาพของตัวอสุจิรวมไปถึงอาหารเลี้ยงตัวอ่อนโดยในการเลี้ยงจะต้องควบคุมทุกอย่าง ทั้งความสะอาดของบรรยากาศในห้องเลี้ยงตัวอ่อน อุณหภูมิ ความชื้น pH แสง (เพราะกระบวนการธรรมชาติเกิดในที่มืด) ทุกขั้นตอนจึงต้องทำด้วยความละเอียด
 |

|
การตรวจอัลตราซาวนด์รังไข่ ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสท์ |
การใส่ตัวอ่อนคืนเข้าไปในโพรงมดลูก |
ขั้นตอนของบลาสโตซิสท์ คัลเจอร์
1. ตรวจวินิจฉัย เพื่อหาปัจจัยที่ทำให้คู่สมรสคู่นั้นมีบุตรยากว่าเกิดจากอะไรบ้าง โดยหลักๆ จะมี 3 ปัจจัยใหญ่ คือ คุณภาพไข่ดีหรือไม่ คุณภาพของโพรงมดลูกกับท่อนำไข่เป็นอย่างไร และคุณภาพของอสุจิ
2. ฉีดยากระตุ้นไข่ เพื่อให้รังไข่ผลิตไข่หลายๆ ใบประมาณ 8 - 10 ใบ จึงจะได้ตัวอ่อนคุณภาพดีหลายตัว สำหรับเลือกใช้โดยจะฉีดวันละเข็ม ประมาณ 10 - 12 วัน ในระหว่างที่ฉีดยากระตุ้นไข่ แพทย์จะนัดคุณแม่มาอัลตราซาวนด์ทางช่องคลอดเพื่อดูว่าไข่มีกี่ใบ และวัดขนาดของไข่ ซึ่งไข่ที่พร้อมสุกจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.8 - 2 ซม.
เมื่อไข่มีขนาด 2 ซม. แพทย์จะเปลี่ยนมาฉีดฮอร์โมนอีกชนิดหนึ่ง เพื่อควบคุมให้ไข่ทั้งหมดตกพร้อมๆ กันในอีก 36 ชั่วโมงถัดไป เพราะธรรมชาติจะกำหนดให้ใบที่ใหญ่ที่สุดตกเพียงใบเดียว แล้วจะผลิตฮอร์โมนมายับยั้งให้ใบอื่นฝ่อ แต่ในกรณีรักษาการมีบุตรยาก เราต้องการไข่จำนวนมาก เพื่อมาทำตัวอ่อนหลายๆ ตัว
3. เจาะเก็บไข่ หลังจากฉีดยาให้ไข่สุกแล้วภายใน 36 ชั่วโมง แพทย์จะเจาะเก็บไข่ โดยฉีดยาให้คุณแม่หลับแล้วใช้อัลตราซาวนด์ทางช่องคลอด เพื่อบอกตำแหน่งของรังไข่ จากนั้นจึงใช้เข็มเล็กๆ ยาวๆ เจาะผ่านผนังช่องคลอดเข้าไปที่รังไข่แล้วดูดเอาาน้ำซึ่งมีเซลล์ไข่ลอยอยู่ออกมาเก็บในหลอดทดลอง
4. การเตรียมอสุจิ ในวันเดียวกับที่เจาะเก็บไข่ แพทย์จะเก็บอสุจิจากฝ่ายชาย และคัดเอาที่ตัวแข็งแรง มีการเคลื่อนไหวดี หลังจากคัดอสุจิได้ตามที่ต้องการแล้ว ก็นำมาเทผสมกันในหลอกทดลอง แล้วรอให้อสุจิผสมเข้าไปในไข่ ในบางกรณีอาจต้องช่วยนำอสุจิเจาะเข้าไปในเซลล์ไข่ด้วย เรียกว่าการทำอิ๊กซี่ (ICSI)
5. การใส่ตัวอ่อนกลับสู่โพรงมดลูก เมื่อผสมตัวอ่อนเสร็จนับตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิ คือวันเจาะไข่ ตัวอ่อนจะถูกเปลี่ยนอาหารเลี้ยงไปเรื่อยๆ ทุกวัน ตามระยะต่างๆ ของตัวอ่อน ภายใต้การควบคุมสภาวะในห้องแล็ปที่เคร่งครัด จนกระทั่งถึงบลาสโตซิสท์รวมเวลาที่เลี้ยงตัวอ่อน 5 วัน จึงนำตัวอ่อนใส่กลับเข้าสู่โพรงมดลูก แล้วใช้ท่อพลาสติกชนิดพิเศษ ขนาดเล็กและมีความนิ่มสอดผ่านช่องคลอดและผ่านปากมดลูกเข้าไปยังโพรงมดลูกเหมือนตรวจภายในธรรมดา ไม่มีความเจ็บปวดใดๆ
หลังจากใส่ตัวอ่อนเรียบร้อยแล้ว คุณแม่ต้องนอนพักเป็นเวลา 2 ชั่วโมง จึงสามารถกลับบ้านได้ ตัวอ่อนจะฝังตัวภายใน 10 - 24 ชั่วโมง แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยพยายามพักอยู่กับบ้านหลังจากใส่ตัวอ่อน
จากนั้น 14 วันแพทย์จะนัดตรวจว่าตั้งครรภ์หรือไม่ โดยตรวจระดับฮอร์โมนจากรกเด็ก (human chorionic gonadotropin ) ถ้าฮอร์โมนสูงขึ้นแสดงว่าตั้งครรภ์ อีกสองสัปดาห์ต่อมาจะสามารถทำอัลตราซาวนด์ และเห็นหัวใจเด็กเต้นได้ ซึ่งถือเป็นการตั้งครรภ์ปกติ
 |
ค่าใช้จ่ายในการทำบลาสโตซิสท์แต่ละครั้ง โดยเฉลี่ยจะอยู่ประมาณ 100,000 กว่าบาทขึ้นไปบางคนอาจแค่ 100,000 ต้นๆ หรือบางคนอาจถึง 200,000 บาท ทั้งนี้โดยส่วนใหญ่แล้วขึ้นอยู่กับคุณภาพไข่ว่าดีหรือไม่
|
เพราะสิ่งที่สิ้นเปลืองที่สุดของการทำบลาสโตซิสท์ คือ ยาที่ใช้ฉีดกระตุ้นไข่ หากคนไข้มีฮอร์โมนพื้นฐานต่ำหรืออายุมากรังไข่ทำงานไม่ดี อาจจะต้องฉีดยาในขนาดที่สูง ก็จะทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ในขณะที่คนอายุน้อยอาจจะเสียเพียงไม่กี่หมื่นบาท
|
ข้อดีของการใส่ตัวอ่อนในระยะบลาสโตซิสท์
- สามารถเลือกตัวอ่อนที่มีเจริญเติบโตและมีคุณภาพดีที่สุด ใส่กลับคืนสู่โพรงมดลูก
- เป็นการใส่ตัวอ่อน ในระยะที่อยู่ในโพรงมดลูกตามธรรมชาติอยู่แล้ว กลับคืนสู่โพรงมดลูกจึงสอดคล้องกับสภาวะโดยธรรมชาติมากที่สุด
- อัตราการฝังตัวสูงกว่าการใส่ตัวอ่อนระยะ 4 - 8 เซลล์
- สามารถตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมของตัวอ่อน กลับใส่คืนสู่โพรงมดลูกได้
- ลดอัตราการเกิดแฝดมากกว่าสองคน ใส่ตัวอ่อนที่เป็นระยะบลาสโตซิสท์เพียง 1 - 2 ตัวอ่อน ก็มีโอกาสตั้งครรภ์แล้ว
- การใส่ตัวอ่อนจำนวนน้อย ทำให้มีตัวอ่อนเหลือ หากรอบแรกใส่แล้วไม่สำเร็จ รอบต่อไปก็สามารถเอากลับมาใส่ได้อีก คนไข้ไม่ต้องสิ้นเปลือง เพราะมีตัวอ่อนเหลืออยู่ ซึ่งแช่แข็งเก็บไว้ได้ตลอดไป
ความเสี่ยงของการทำบลาสโตซิสท์ คัลเจอร์
- การตั้งครรภ์ที่มีจำนวนทารกมากกว่า 1 คนขึ้นไปเกิดขึ้นประมาณ 10 - 30% ต่อรอบการรักษา จำนวนตัวอ่อนที่จะใส่กลับคืนสู่โพรงมดลูก เป็นตัวกำหนดความเสี่ยง แพทย์จะตัดสินใจร่วมกับคุณแม่ในการเลือกจำนวนตัวอ่อนที่จะใส่โดยอธิบายให้ทราบถึงความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่จะมีต่อทั้งคุณแม่และทารก ในการตั้งครรภ์ที่มีจำนวนมากกว่า 1 คน
รังไข่ถูกกระตุ้นมากเกิน (Overian Hyper Stimulation Syndrom ) เกิดขึ้นเมื่อมีไข่จำนวนมากเกิดขึ้น จะทำให้รังไข่มีขนาดใหญ่ขึ้น ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) จะสูงขึ้น ซึ่งสัมพันธ์กับการสะสมน้ำและของเหลว ในช่องท้องหรือช่องเชิงกราน
การสะสมของของเหลว มีผลมาจากการเพิ่มขึ้นของความสามารถในการซึมผ่านหลอดเลือด และการเคลื่อนของของเหลวในโปรตีน ออกจากระบบไหลเวียนเลือดสู่ช่องท้องการลดลงของของเหลวในระบบไหลเวียนเลือด ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือด เมื่อเกิดภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป ผู้ป่วยอาจหยุดการรักษาในรอบนั้น หรืออาจทำการรักษาต่อโดยหยุดฉีดยา แล้วให้ไข่เจริญเติบโตต่อไปเองก็จะเป็นการลดความเสี่ยงลงได้
ค่าใช้จ่ายในการทำบลาสโตซิสท์แต่ละครั้ง โดยเฉลี่ยจะอยู่ประมาณ 100,000 กว่าบาทขึ้นไป บางคนอาจแค่ 100,000ต้นๆ หรือบางคนอาจถึง 200,000 บาท ทั้งโดยส่วนใหญ่แล้วขึ้นอยู่กับคุณภาพไข่ว่าดีหรือไม่
เพราะสิ่งที่สิ้นเปลืองที่สุดของการทำบลาสโตซิสท์ คือ ยาที่ใช้ฉีดกระตุ้นไข่ หากคนไข้มีฮอร์โมนพื้นฐานต่ำหรืออายุมาก รังไข่ทำงานไม่ดีอาจจะต้องฉีดยาในขนาดที่สูง ก็จะทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ในขณะที่คนอายุน้อยอาจจะเสียเพียงไม่กี่หมื่นบาท
ข้อจำกัดของการทำบลาสโตซิสท์ คัลเจอร์
ข้อจำกัดมีประการเดียวคือ ไม่สามรถกำหนดคุณแม่ทุกคนได้ว่าจะตั้งครรภ์หรือไม่ ตามหลักการหากได้บลาสโตซิสท์ที่สมบูรณ์แล้วใส่เข้าไปในโพรงมดลูกที่มีคุณภาพดี ไม่มีเนื้องอก ตะปุ่มตะป่ำอันจะเป็นอุปสรรคต่อการฝังตัวของตัวอ่อน มีอาหารเลี้ยงดีก็จะตั้งครรภ์ได้ ซึ่งอาหารที่ว่านั้นหมายถึงเยื่อโพรงมดลูกต้องมีความหนาตัวดีและมีเลือดมาเลี้ยง พร้อมทั้งผลิตสารอาหารที่จำเป็นต่อตัวอ่อนได้มาก ซึ่งเป็นผลจากการที่คุณแม่ไม่เครียด และนอนหลับได้ดีทำให้ร่างกายคุณแม่ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ 2 ชนิด คือ เอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอร์โรน (Progesterone) ได้ดี
บางรายไม่ประสบความสำเร็จในรอบแรก อาจเพราะดูแลตัวเองไม่ดี ฮอร์โมนดังกล่าวทั้ง 2 ชนิดตก แพทย์จะหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร เช่น ทำงานมากไป เครียดเกินไปหรือไม่ ถ้าเครียดให้หยุดงานบางคนหยุดงานอยู่แต่ฮอร์โมนตก แสดงว่าตัวหยุดจริงแต่ว่าใจไปอยู่ที่ทำงาน
ความเครียดจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ถ้าคุณแม่เครียด นอนหลับไม่ดี ฮอร์โมนจะตก เมื่อฮอร์โมนตกโอกาสตั้งครรภ์ก็จะต่ำ
ดังนั้นในการรักษาแบบ บลาสโตซิสท์ คัลเจอร์ แพทย์จะนัดเจาะเลือดเพื่อตรวจดูระดับฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดว่าสูงขึ้นหรือไม่ อย่างน้อยก็ควรคงที่ ถ้าคุณแม่ดูแลระดับฮอร์โมนของตนเองได้ดี เพียง 14 วันหลังใส่ตัวอ่อน ก็จะเจาะตรวจฮอร์โมนรกเด็ก (hCG) ซึ่งถ้าขึ้นแสดงว่าตั้งครรภ์ และอีกสองสัปดาห์จะสามารถทำอัลตราซาวนด์ และเห็นหัวใจเด็กเต้นได้และถือเป็นการตั้งครรภ์ที่ปกติ
นพ.พูนศักดิ์ ฝากถึงผู้ประสบปัญหามีบุตรยากกว่า อยากให้ทุกท่านที่มีบุตรยาก ศึกษาหาความรู้ในเรื่องนี้ให้เข้าใจรายละเอียดอย่างถ่องแท้ ยังไม่อยากให้ยอมแพ้ เพราะอาจจะไม่ได้หมายความว่าคุณตั้งครรภ์ไม่ได้จริงๆ อาจเป็นเพราะเทคโนโลยีที่ใช้อยู่เดิมยังไม่พอดีองใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้น อาจจะแก้ปัญหาได้ตรงจุดยิ่งขึ้น และช่วยให้คุณแม่สามารถตั้งครรภ์ด้วยตัวเองได้
การมีลูกจะช่วยเติมเต็มทุกอย่างในชีวิต ความสดชื่นในครอบครัว สายสัมพันธ์ระหว่างคุณพ่อคุณแม่ จากประสบการณ์ที่ได้รักษาคนไข้มานาน ทำให้เห็นว่าชีวิตคนไข้เปลี่ยนไปมากหลังมีลูก.